คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาของอินเดีย 5 คน ซึ่งเป็นชุดที่พิจารณาเกี่ยวกับการตีความรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยเมื่อวานนี้ (17 พ.ค.) ว่า กฎหมายที่ออกโดยรัฐทมิฬนาฑู ซึ่งให้การคุ้มครองกีฬาปล้ำวัว ไม่ได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญของอินเดีย
นอกจาก รัฐทมิฬนาฑู ศาลฎีกาอินเดียยังยกคำร้องที่ตั้งคำถามถึงความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญของกฎหมายในรัฐกรณาฏกะ และรัฐมหาราษฏระที่อนุญาตการจัดเทศกาลปล้ำวัวและแข่งวัวภายในรัฐด้วยเช่นกัน คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
กีฬาปล้ำวัว หรือที่เรียกว่า ชัลลีกัฏฏู (Jallikattu) เป็นหนึ่งในกีฬาเก่าแก่ที่สุดที่ยังคงเล่นกันในยุคปัจจุบัน โดยมีอายุมากกว่า 2,000 ปี และจัดในช่วงเทศกาลเก็บเกี่ยวของชาวทมิฬ รูปแบบของกีฬานี้ บรรดาผู้แข่งขันจะต้องจับโหนกวัวกระทิง และพยายามเกาะไว้ให้ได้ประมาณ 15-20 เมตร หรือจนกว่าวัวจะกระโดด 3 ครั้ง จึงจะชนะ
นทท.แห่ชม "รากู" ลูกช้างกำพร้าอินเดีย ตัวเอกในสารคดีออสการ์
อินเดียมีประชากรเสือในธรรมชาติทะลุ 3,000 ตัวแล้ว
ที่ผ่านมา มีผู้แข่งขันเสียชีวิตจากการถูกวัวขวิดหรือเหยียบจำนวนมาก และมีผู้ชมได้รับบาดเจ็บหลายร้อยคน ด้านนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสัตว์ระบุว่า กีฬาชนิดนี้เป็นการทารุณสัตว์ แต่ผู้ที่สนับสนุนอ้างว่า กีฬานี้เป็นส่วนสำคัญในมรดกทางวัฒนธรรมของพวกเขา รวมถึงยืนยันด้วยว่า วัวที่ใช้ในการแข่งขันนั้นได้รับการดูแลอย่างดี และกีฬานี้ก็ยังช่วยอนุรักษ์วัวสายพันธุ์ท้องถิ่นด้วย อย่างไรก็ตาม ในปี 2006 ศาลสูงมัทราสในรัฐทมิฬนาฑูได้สั่งแบนกีฬาปล้ำวัว หลังมีผู้ชมที่เป็นผู้เยาว์ถูกวัวทำร้ายเสียชีวิต ก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งห้ามเช่นเดียวกันในปี 2014 ด้วยเหตุผลเรื่องทารุณกรรมสัตว์ แต่ในปี 2017 รัฐบาลรัฐทมิฬนาฑูก็ยกเลิกคำสั่งห้ามเป็นการชั่วคราว หลังเกิดการประท้วงของผู้สนับสนุนกีฬาปล้ำวัว จากนั้น รัฐทมิฬนาฑูก็ได้แก้ไขกฎหมายเพื่อให้กีฬาชนิดนี้สามารถจัดได้ต่อไป ซึ่งก็ทำให้กลุ่มนักเคลื่อนไหว เช่น พีต้า (PETA) ยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาว่า การกระทำดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ และไม่ชอบด้วยกฎหมาย